วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

คนที่เอาใจยากที่สุดคือ "คนจน"


คนที่เอาใจยากที่สุดคือ "คนจน"


ถ้าจะให้อะไรเขาฟรีๆ  เขาจะรับแต่เขาจะไม่ทำอะไรต่อเพื่อตัวเขา

ถ้าเราบอกให้พวกเขาลงทุนน้อย(แค่พอตัว)  เขาจะบอกว่าก็ได้กำไรน้อยสิ

ถ้าเราบอกพวกให้ลงทุนเยอะๆ พวกเขาจะตอบกลับมาว่า "ไม่มีทุนเพียงพอ"

ถ้าบอกให้พวกเขาได้ลองทำสิ่งใหม่ๆ พวกเขาจะตอบกลับมาว่า "ไม่มีประสบการณ์"

ถ้าบอกให้พวกเขาทำธุรกิจเอง แทนสมัครงาน พวกเขาจะตอบกลับมาว่า "มันยากที่จะทำได้"

ถ้าบอกให้พวกเขาทำธุรกิจสมัยใหม่ พวกเขาจะตอบกลับมาว่า "มันเป็นธุรกิจขายตรง"

ถ้าบอกให้พวกเขาเปิดร้านขายของ แต่พวกเขาจะตอบกลับมาว่า "มันไม่มีอิสระ"

บอกให้พวกเขาเริ่มธุรกิจใหม่ๆ แต่พวกเขาตอบกลับมาว่า "ไม่มีความชำนาญ"

คนพวกนี้มีอะไรที่เหมือนกันคือ พวกเขาชอบถาม Google และชอบคุยกับเพื่อนและคนที่ล้มเหลวเหมือนตัวพวกเขาเอง

พวกเขาคิดมากเหมือนอาจารย์ในมหาวิทยาลัย แต่ลงมือน้อยกว่าคนพิการอีก

ถ้าลองถามว่า พวกเขาทำอะไรได้บ้าง "พวกเขาจะตอบว่าไม่รู้ และตอบมาแบบไม่มั่นใจ"

บทสรุปคือ
แทนที่หัวใจจะเต้นเร็วๆ หัดทำอะไรที่มันเร็วกว่า แทนที่จะมานั่งตั้งคำถาม...ทำมันเลยดีกว่าไหม

คนที่ล้มเหลวมีพฤติกรรมคล้ายกันอย่างหนึ่งคือ ทั้งชีวิต มีแต่คำว่า "ดูก่อน"

Jack Ma

Cr. คลิปจาก Topica Native 

วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2559

ทำไมวิชาเกษตรพอเพียง เด็กถึงไม่ทำกินอย่างยั่งยืน




     เราเข้าใจเหมือนๆกันทุกคนว่าในโรงเรียน มีโครงงานเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักปรัชญาเพื่อการพึ่งพาตนเองให้ได้หลังเรียนจบแล้วนำไปใช้ทำกินให้ยั่งยืน แต่ไหงเด็กเรียนไม่จบไม่นำไปทำกิน เด็กเรียนจบแล้วก็ไม่เอาไปทำกิน.ย้ายตามไปก่อสร้างกับพ่อแม่ดีกว่า ทั้งๆวิชาของพ่อ(ดีที่สุดในโลก) = วิชาพอเพียง




เคยสงสัยไหมครับ ?
- เป็นเพราะว่าอย่างนี้ไหม เวลาที่เรียนอยู่ในโรงเรียนเด็กคิดว่าแค่ทดลอง(อะไรที่ลองมักไม่เอาจริง) มิได้ทำจริงเพื่อเลี้ยงชีพได้

- เป็นเพราะว่าอย่างนี้ไหม เวลาที่เรียนจะเรียนเป็นเทอม พอหมดเทอมก็หยุดทำ แล้วไปเริ่มวิชาใหม่

- เป็นเพราะว่าอย่างนี้ไหม มีใครเคยทำเกษตรปิดเทอมก็หยุดปลูก พอเปิดเทอมค่อยมาคุยอีกทีว่าจะทำไหม

- เป็นเพราะว่าอย่างนี้ไหม ทำเกษตรต้องเอาใจใส่ลงไปในแปลง ผลผลิตที่งอกงามสมบูรณ์ จึงจะนำมาซื่งความภูมิใจ  แต่พอแค่เรียน ทำให้เสร็จเป็นการบ้านก็พอ(แลกกับคะแนน) 

- เป็นเพราะว่าอย่างนี้ไหม กว่าจะงอกงามเก็บเกี่ยวผลได้ (ต้องใช้เวลา) คนรุ่นใหม่ไม่รออะไรนานขนาดนั้นได้ เพราะเขาไม่ได้ถูกส่งเสริมให้ละเมียดละไมกับความรักในธรรมชาติและผลผลิตของปู่ย่าตายาย เขาจึงไม่เอา 

- เป็นเพราะว่าอย่างนี้ไหม เกษตรที่เขาเรียน กับ เกษตรที่พ่อแม่เขาทำเลี้ยงเขาจนโต มันคนละเกษตรกันของการเรียนรู้...อย่าลืมนะว่าเข้าโรงเรียนไม่น้อยกว่า 5 วัน วันละไม่น้อยกว่า 5-6 ชั่วโมง ทำให้เด็กไม่ได้ช่วยพ่อแม่ทำกินกับเกษตรฯ

ในการประกอบธุรกิจอย่างแท้จริงก็ไม่มีใครค้าขายหรือทำธุรกิจเป็นเทอมหรือสอบเสร็จก็เลิกขาย
...ถ้าอย่างไรช่วยผมคิดต่อด้วยนะ จะช่วยเด็กๆ ในโรงเรียนได้อย่างไรผมจะนำไปแก้ไขฯ



วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559

ทำไมการศึกษาถึงทำให้เรา "ไม่สามารถซื้อที่นาคืนให้พ่อแม่ได้"


ภาพการบรรยายจากYOUTUBE TED TALK  ที่เชียงใหม่ ผู้บรรยาย คุณโจร จันได

   วาทะสดับรับฟังแล้วสั่นสะท้าน สะเทือน สะอึกถึงความรู้สึกอย่างกระชากใจในเรื่องราวชีวิตและการศึกษาที่ชาติป้อน+บังคับด้วยกฎหมาย ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาต้องแลกด้วยการพรากเราออกจากความงดของชีวิตจริงออกไป คุณโจน จันได ได้สะท้อนรากนี้ไว้อย่างน่าฟังว่า
     วันนี้ผมอยากจะเล่าเรื่องประสบการณ์เกี่ยวกับการศึกษาให้ฟัง มันอาจต่างจากที่หลายๆ คนคาด แต่ก่อนผมก็เคยรู้สึกเหมือนคนทั่วไปว่าการศึกษาจะทำให้ชีวิตเราดีขึ้น การศึกษาคือสิ่งที่จะทำให้เราก้าวไปสู่ความสำเร็จในชีวิตได้ ผมเคยรู้สึกอย่างนั้นและก็ได้พยายามจะต่อสู้เพื่อที่จะประสบผลสำเร็จ โดยการพยายาม "เรียนให้มากที่สุด" 
     แต่สิ่งที่ผมเห็นกลับตรงกันข้าม นักเรียนที่เรียนรุ่นเดียวกันชั้นปฐมกับผม 60 กว่าคน คนที่เรียนเก่งที่สุดตอนนี้คือ "เป็นข้าราชาการคนหนึ่งที่มีแต่หนี้สิน" หลายๆคนในห้องผมเนี่ย "พ่อแม่ต้องขายควายทั้งฝูงเพื่อส่ง...เรียน" "บางคนต้องขายที่นาเพื่อส่งลูกเรียน" แล้ว "เป็นหนี้" แล้วพอจบออกมาคนเหล่านี้ "แม้จะได้งานแต่เขาก็ไม่มีปัญญาที่จะซื้อที่นาคืนให้พ่อแม่ได้" เขาคือ "ลูกจ้างราคาถูก" ที่จะต้องหาเลี้ยงชีวิตด้วยความยากลำบากต่อไป
     มันทำให้ผมรู้สึกว่า "การศึกษาสำหรับคนจนมันเหมือนการพนัน" เหมือนมาก และตอนนี้ผมก็เริ่มเห็นคนจำนวนมากที่ต้องต่อสู้กระเสือกกระสนทำงานมากกว่า 10 ปี เพื่อส่งลูกเรียน "เขาสละเวลาของชีวิตมากกว่า 10 ปีเพื่อส่ง...เรียน" "พอจบออกมาลูกก็หางานทำไม่ได้" หรือหางานได้ "ก็เป็นได้แค่แรงงานราคาถูก" .
ความเห็นของผู้เขียน:...ไม่มีทางเลือกอื่นแล้วหรือนอกจากหางานทำ
...อ่านต่อได้ที่ อย่ารักพ่อเพียงลมปาก
     ในมุมมองของคนจนรู้สึกว่าการศึกษาเนี่ยทำร้ายเรามากทีเดียว เราเรียนเยอะมากแต่ "สิ่งที่เรามาใช้ในชีวิตกลับไม่ใช่สิ่งที่เราเรียน" ทำไม่เราต้อง "สูญเสียเวลาอันมีค่าของชีวิตเกือบ 20 ปี" "ใช้เงินเป็นล้าน" เพื่อที่จะเรียนสิ่งที่เราจะไม่ได้ใช้" 
ความเห็นของผู้เขียน: เรียนเพื่อให้คนบางกลุ่มได้มีอาชีพ เพื่อคนอีกหลายคนจะตกเป็นเหยื่อยต้องตกงาน
     ผมจำได้ว่าผมเกลียดคณิตศาสตร์มาก แต่ผมก็ต้องก้มหน้าก้มตาเรียนซาน คอส แทน เรียนพายอาร์ กำลังสอง แล้วว้นนี้ผมยังไม่เห็นใหใครในชีวิตที่ถอดสแควรูทให้ชีวิต...555 เสียงปรบมือดังกึกก้อง
ถ้าอยากฟังความจริงที่จริงตลอดกาลนี้ต่อได้ที่ youtube

วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2559

เริ่มยังไงนะ "ธุรกิจส่วนตัว"

คนยุคเจนสายชีวิตสุดโต่ง ถูกสำรวจความอยากและปรารถนาว่า รู้แล้วว่าโตขึ้นฉันอยากทำอยากมี"ธุรกิจส่วนตัว Entrepreneur" เป็นอันดับที่ 5 รองจากอาชีพล่าม ที่มา: sprouts school survey 2016 ที่สำคัญอยากแล้วไม่ลอง มันน่าน้อยใจหรือเสียดายไหม(เสียดาย เป็นคำ บ่นแต่ไม่ได้ทำจิง) นั่นซิแล้วจะเริ่มกันอย่างไร ยังไงนะ
มาเริ่มกันที่ 10 วิธี ง่ายสุด ใกล้ตัวสุด เบาสุด Slow Life(ละเมียด) ได้เลย

1. ถามตัวเองอยาก "ทำอะไร"

2. ถามตัวเองอีก "ชอบอะไร"

3. ถามตัวเองได้อีก "ไม่ชอบอะไร
ตั้ง3 ข้อที่ควรถามตัวเอง เพราะเหมือนย้ำให้แน่ชัดว่า...กำลังจะก่อการเอาจริงแล้วนะ
....ถ้ายังตอบถามไม่ หรือไม่เจอ ก็ถามไปเรื่อยๆ

4. ถามเพื่อนๆ (อย่าถามคนเดียวนะ)

5. ถามคนใกล้ตัว...(จริงๆนะ)

6. ถามรอบๆ ละแวกบ้าน,หรือจะไปลองพูดคุยซื้อของเขา...(อย่าไปเพียงแค่ซื้ออย่างเดียวนะต่อจากนี้ไป)

7. จดสิ่งที่ถามมาจาก 1-7 ข้อ แล้วมาแยกชอบ ไม่ชอบ พอทำได้ ทำไม่ได้ อันนี้ไม่เอา ฯ

8. ถามไกลจากบ้านขึ้น ปั่นจักรยาน นั่งวิน ...เอาซักรอบ 1 กิโลเมตรนะ...ข้อนี้ทางธุรกิจเขาเรียกว่า "สำรวจตลาด"

9. คราวนี้ถ่ายรูป ถ่ายวีดีโอ บันทึกคำสัมภาษณ์ สะสมของตัวอย่าง ถามราคา ...ถ้าถามแหล่งผลิตก็จะแหล่มมาก

10. สุดท้ายกลับมาตั้งหลักอีกรอบ "ถามใจ" ตัวเองว่า "เอาไหม"
ถ้าเอา...แสดงว่าที่ลงทุนไปไม่เหนื่อยเปล่า เพราะคุณคือคนที่
เริ่มนับหนึ่งจริงแล้วกับ "ธุรกิจส่วนตัว"  ไม่ได้ฝันไป

วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2559

รักพ่อ อย่ารักเพียงลมปาก


แนวคิดหลักที่พ่อมอบให้อย่างมี(ภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี) ใช่นั่นคือ "การพึ่งพาตนเอง"  เพื่อไม่ให้ตนเองตกเป็นเหยื่อที่จะไม่สามารถเลี้ยงตนเองได้ในอนาคต นั่นหมายถึง การมีวิชาเลี้ยงชีพ(ที่เลี้ยงชีพได้จริง)...มิใช่วิชาสอบ...โอเน็ต

ชีพ เป็นเรื่องของชีวิตจริง 
ชีวิตจริงต้องทำได้จริง 
เลี้ยงตัวเองได้จริง



ภาพแรกจาก : https://www.facebook.com/Self.INC.Thailand


สำคัญที่สุดคือ วิชาการหรือความรู้ที่ได้รับ...ต้องสามารถแปลง เปลี่ยนเป็นวิชาเลี้ยงชีวิต เลี้ยงชีพได้ทันที หรือเร็วที่สุด...
ทำไมต้องเร็วที่สุด เพราะถ้าล่าช้าเด็กจะคิดว่าเป็นการเรียน หรือแค่การบ้านหรือแค่เสพติดคะแนนสอบ อันไม่ได้เกี่ยวข้องจริงกับชีวิตเมื่อไม่ได้อยู่ต่อในโรงเรียน 
ชีวิตจริงต้องพึ่งตน หาเลี้ยงตนให้ได้ ถึงจะดำรงตนให้รอดในยุคปัจจุบันได้ นั่นคือ ทำตามคำสอนของพ่อได้จริง ไม่ต้องรอเรียนจบแล้วค่อยทำ สำคัญที่สุดเมื่อทำได้เร็ว ได้จริง ก็คือกตัญญูต่อพ่อแล้ว
หมายเหตุ : เลิกรักพ่อเพียงแค่ลมปาก แล้วมาลงมือทำเพื่อพ่อด้วยตน


ภาระกิจขับเคลื่อน "ธุรกิจพอเพียง" กับการแก้ปัญหาระดับชาติ


การร่วมประชุมระดับชาติ มีท่านผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ และคณาจารย์กว่า 1,000 คน และมีโรงเรียนเข้าร่วมรับฟัง 

แนวความคิด"ธุรกิจพอเพียง" กว่า 500 โรงเรียน 



รูปภาพ จากการประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามความก้าวหน้าการพัฒนาทักษะและสมรรถนะทางสาขาวิชาชีพของเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย 
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 
ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม - 2 เมษายน พ.ศ.2559
ณ โรงแรมริเวอร์ไซต์ กรุงเทพมหานคร

อยากทำธุรกิจ กลัวเจ๊ง

อยากทำธุรกิจ "กลัวเจ๊ง"

หมดยุคมานั่งปลอดโดนกับความกลัวเจ๊งเหมือนกลัวผี(ในโทรทัศน์ซึ่งยังไม่เคยเป็นจริงซักที) ไปฟังเขามาว่าถ้าเจ็งจะทำอย่างไร? 
...นั่นซิ ลองถามคนที่แนะนำเรา...ว่า "ทำไง" 
...ส่วนใหญ่จะได้คำตอบว่า "อย่าทำเลย เดี๋ยวจะเจ๊ง" เราเลยเชื่อเพราะคนบอกคนแนะ...เพราะเราอาจอยู่ในฐานะที่เราต้องเชื่อฟังกตัญญู (อันที่จริงเขากลัวเราทำเจ๊ง หรือเขากลัวเราทำเงินของเขาเจ๊ง) ประเด็นมันอยู่ที่เราไปรบกวนความไม่รู้จริงของเขาและเงินของเขาเท่านั้น. 

ทางแก้ 
1. อย่าไปรบกวนถามกับคนที่ไม่มีความรู้ในการแก้เจ๊ง แก้กลัว
2. อย่าไปยืมหรือขอเงินคนที่ไม่เคยทำธุรกิจ(มีแต่เงินเดือนและความรู้ที่เป็นลูกจ้าง)
ลูกจ้าง หมายถึง ผู้ขายเวลาให้เพื่อแลกกับเงินตามเดือน เพื่อวัตถุประสงค์ทำงานให้เขา(ที่ไม่ใช่ของเรา)ลูกจ้างส่วนใหญ่มีวิชาลูกจ้างเท่านั้น ไม่มีวิชานายจ้าง เพราะลูกจ้างต้องการเพียงความมั่นคง เสี่ยงต่ำหรือไม่ต้องเสี่ยง
ลูกจ้างส่วนใหญ่เรียนรู้ว่า ทุกสิ้นเดือนจะได้ค่าจ้าง ซึ่งต่างจากนายจ้างตรงที่ในทุกวันมีค่าจ้างที่ต้องจ่ายจึงต้องหาให้ได้ทุกวันฯ
3. อย่าได้แค่เพียงอยากทำธุรกิจผ่านตำราหรือสร้างภาพด้วยคำพูดให้ดูดี เช่น
ถาม : ทำอาชีพอะไร  
ตอบ: ทำธุรกิจส่วนตัว(เรื่องส่วนตัวเลยกลายเป็นความลับบอกใครไม่ได้) 
การทำธุรกิจถ้าเป็นเรื่องส่วนตัว...ลูกค้าก็ไม่รู้ว่าเราขายอะไร ทำกิจการอะไร? ...555 ล้อเล่นครับ

สรุป :  ธุรกิจมีไว้ทำจริง...มิใช่ไว้จินตนาการ
ธุรกิจถ้าทำจริงได้,ทำจริงเป็น ...จะได้ไม่ต้องไปชื่นชมกับความสำเร็จของคนอื่นตามหน้าเพจในเฟสบุ๊ค...ธุรกิจมีไว้ให้เราชื่นชมด้วยกิจการของเราเอง...มีไว้ให้ลูกค้ามาซื้อสินค้าเรา
         ธุรกิจมิได้มีไว้ให้ "ลอง" ...ถ้าแค่ลองแสดงว่าไม่"เอาจริง" (มีหลายอย่างในชีวิตที่แค่ลองทำมาเยอะแล้ว) อยากประสบความสำเร็จ แต่ออกแรงเพียงแค่ "ลอง" ...คงรู้คำตอบในอนาคตแล้วนะ?
           ธุรกิจไม่มีคำว่าล้มเหลวหรือเจ๊ง มีแต่เพียงคนทำ "ล้มเลิก"

เท่านี้ก่อนเดี๋ยวนะจ๊ะจะก้าวล่วงเปิดฉากรบกันทางความคิด



ภาพธุรกิจอาหาร ประเภทขนมหวาน 
ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนนครราชสีมา ปัญญานุกูล